เมนู

4. อนันตรปัจจัย


[1689] 1. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1690] 2. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1691] 3. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย,
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนะเป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1692] 4. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
[1693] 5. อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค, โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค, อนุโลม
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ, เนวสัญญานาสัญญายตนะของผู้ออกจากนิโรธ เป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย
[1694] 6. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่เป็นอสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรมที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
มรรคเป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล ด้วยอำนาจของอนันตร-
ปัจจัย.
[1695] 7. อสังกิลิฏฐอสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ผลเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 9. อุปนิสสยปัจจัย


[1696] 1. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สังกิลิฏฐ-
สังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย1 ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วย
อำนาจของสหชาตปัจจัย2 เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย3
ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย4 ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย5

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลอาศัยราคะ ย่อมฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, อาศัยโทสะ ย่อมฆ่า
สัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์, ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ราคะ ฯลฯ
แก่ความปรารถนาด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ปาณาติบาตเป็นปัจจัยแก่ปาณาติบาต ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
ฯลฯ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยแก่นิยตมิจฉาทิฏฐิด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
[1697] 2. สังกิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อสัง-
กิลิฏฐสังกิเลสิกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะแล้วให้ทาน
สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ยังฌาน วิปัสสนา อภิญญา สมาบัติ ให้เกิด
อาศัยความปรารถนาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิด.
1. มี 7 วาระ, 2. มี 9 วาระ 3. มี 3 วาระ 4. มี 13 วาระ 5. มี 8 วาระ (ดูข้อ 1748
ข้างหน้า)